วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาม.4

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พระรุัตนตรัย หมายถึง   ดวงแก้วอันประเสริฐ 3 ดวง ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
คุณค่าพุทธะ ได้แก่  พิจารณาตามพุทธจริยา มี 3 ประการ คือ โลกัตถจริยา ญาตัตถจริยา และพุทธัตถจริยา
พระคุณของพระพุทธเจ้า สรุปได้ 3 ประการ คือ
  • พระปัญญา
  • พระมหากรุณา
  • พระวิสุทธิคุณ ท
คุณค่าของพระธรรม ได้แก่
  • สฺวากขาโต ภควา ธมฺโม แปลว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเข้าตรัสดีแล้ว
  • สนฺทิฏฺฐิโก แปลว่า อันผู้ปฏิบัติธรรมจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
  • อกาลิโก แปลว่า ไม่ประกอบด้วยกาล คือ การปฏิบัติธรรม ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา
  • เอหิปสฺสิโก แปลว่า ควรเรียกให้มาดู คือ เชิญชวนให้มาชม และพิสูจน์ได้ หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ
  • โอปนยิโก แปลว่า ควรน้อมเข้ามา คือ ควรน้อมนำหลักธรรมเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงหลักธรรม ด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจ
  • ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ แปลว่า อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
คุณค่าของพระสงฆ์ ได้แก่ เป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเป็นผู้อนุเคราะห์ช่วยเหลือชาวบ้าน ทำให้ปฏิบัติตามหลักธรรมได้ถูกต้อง
ความดีของพระสงฆ์ สรุปได้ดังนี้
  • สุปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี
  • อุขุปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตรง
  • ญายปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง
  • สามีจิปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติสมควร
  • อาหุเนยโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่สิ่งของคำนับ
  • ปาหุเนยโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ
  • ทักขิเณยโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่ทักษิณาควรแก่สิ่งของทำบุญ
  • อัญชลีกรณีโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี
  • อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเนื้อนาบุญของโลก
อริยสัจ 4 คืออะไร ได้แก่อะไรบ้าง  คือ ความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์
1. ทุกข์
คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์
2. สมุทัย
คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง
3. นิโรธ
คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน
4. มรรค
คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้
ทุกข์ หรือธรรมที่ควรรู้ ประกอบด้วยหลักธรรม  คือ ขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
โลกธรรม 8 ได้แก่อะไร โลกธรรม คือ ธรรมดาของโลก, เรื่องของโลก, ธรรมที่ครอบงำโลก ไม่มีใครพ้นไปได้เลย ยกเว้นพระอรหันต์ผู้อยู่เหนือโลกเท่านั้น โลกธรรมมี 8 ประการแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายแรกฝ่ายที่น่าปรารถนาและพึงพอใจ (อิฏฐารมณ์) และฝ่ายที่ไม่น่าปรารถนาหรือไม่พึงพอใจ (อนิฏฐารมณ์)
คู่ที่ 1 ได้ลาภ เสื่อมลาภ ลาภ
คู่ที่ 2 ได้ยศ เสื่อมยศ
คู่ที่ 3 สรรเสริญ นินทา
คู่ที่ 4 สุข ทุกข์
สมุทัย หรือ ธรรมที่ควรละ ประกอบด้วยหลักธรรมอะไรบ้าง
นิยาม หมายถึง การกำหนดอันแน่นอน หรือ ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ หรือกฎธรรมชาติ
กฎธรรมชาติหรือนิยามนั้น แม้จะมีลักษณะทั่วไปอย่างเดียวกันทั้งหมดคือ ความเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย แต่ก็อาจแยกประเภทออกไปได้ตามลักษณะอาการจำเพาะที่เป็นแนวทางหรือเป็นแบบหนึ่ง ๆ ของความสัมพันธ์ อันจะช่วยให้กำหนดศึกษาได้ง่ายขึ้น
โดยประกอบด้วย 5 อย่างคือ
  1. อุตุนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติแวดล้อม เช่น เรื่องลมฟ้าอากาศ ฤดูกาล ฝนตกฟ้าร้อง การที่สิ่งทั้งหลายผุพังเน่าเปื่อย มุ่งเอาความผันแปรที่เนื่องด้วยความร้อนหรืออุณหภูมิ
  2. พีชนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่าพันธุกรรม เช่น หลักความจริงที่ว่าปลูกพืชเช่นใดก็ให้ผลเช่นนั้น ปลูกข้าวย่อมได้ข้าว เป็นต้น
  3. จิตตนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต กระบวนการของความคิด พระพุทธศาสนาเชื่อว่าคนเรา (รวมทั่งสิ่งมีชีวิตอื่น) ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของชีวิต คือ จิต ภาวะทางจิตของคนไม่เหมือนกัน ผลักดันให้พฤติกรรมที่แตกต่างกัน
  4. กรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ หรือกฎแห่งกรรม ซึ่งเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยความจงใจ (เจตนา) แบ่งออกเป็นสองอย่างคือ กรรมดีกับกรรมชั่ว กรรมดีย่อมสนองตอบในทางดี กรรมชั่วย่อมสนองตอบในทางชั่ว
  5.  ธรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์หรืออาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันของสิ่งทั้งหลาย หรือกฎทั่วไปแห่งเหตุและผล เช่น สิ่งทั้งหลายมีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เป็นธรรมดา คนย่อมมีความเกิด แก่ เจ็บตาย เป็นธรรมดา ธรรมนิยามเป็นคำสรุปรวมเอานิยามทุกข้อทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน และนิยามสี่ข้อข้างต้นก็รวมอยู่ในธรรมนิยามนี้เช่นกัน
วิตก 3 หมายถึง
วิตก หมายถึง ความคิด ความนึกคิด หรือดำริ ประกอบด้วย กุศลวิตก 3 และอกุศลวิตก 3 ได้แก่
กุศลวิตก 3 หมายถึง ความนึกคิดที่ดีงาม ประกอบด้วย
  1. เนกขัมมวิตก หมายถึง ความนึกคิดในทางเสียสละ ความนึกคิดที่ปลอดจากกาม คือ ไม่ติดในการปรนเปรอสนองความอยากของตน
  2. อพยาบาทวิตก หมายถึง ความนึกคิดที่ปลอดจากการพยาบาท หรือความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา คือไม่คิดขัดเคืองหรือพยาบาทมุ่งร้ายบุคคลอื่น
  3. อวิหิงสาวิตก หมายถึง ความนึกคิดที่ปลอดจากการเบียดเบียน ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย
อกุศลวิตก 3 หมายถึง ความนึกคิดในสิ่งที่ไม่ดี ประกอบด้วย
  1. กามวิตก หมายถึง ความนึกคิดในทางกาม หรือความนึกคิดในทางแสวงหาหรือพัวพันติดข้องในสิ่งที่สนองความอยาก
  2. พยาบาทวิตก หมายถึง ความนึกคิดที่ประกอบด้วยความขัดเคืองหรือพยาบาทมุ่งร้าย
  3. วิหิงสาวิตก หมายถึง ความนึกคิดในทางเบียดเบียน หรือความนึกคิดในทางทำลาย มุ่งร้าย หรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
จะเห็นว่าหลักของอกุศลวิตกทั้ง 3 เป็นหลักที่ควรละเสีย (สมุทัย) เพราะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความทุกข์ผลักดันให้พฤติกรรมที่แตกต่างกัน
มิจฉาวณิชชา 5 คือ
  1. สัตถวณิชชา คือ การขายอาวุธ
  2. สัตตวณิชชา หมายถึง การค้าขายมนุษย์
  3. มังสวณิชชา หมายถึง ค้าขายสัตว์เป็น
  4. มัชชวณิชชา หมายถึง การค้าขายน้ำเมา
  5. วิสวณิชชา หมายถึง การค้าขายยาพิษ
องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท คืออะไร
  1. อวิชชา
  2. สังขาร
  3. วิญญาณ
  4. นามรูป
  5. สฬายตนะ
  6. ผัสสะ
  7. เวทนา
  8. ตัณหา
  9. อุปทานจึ
  10. ภพ
  11. ชาติ
  12. ชรา มรณะความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ
นิวรณ์ 5 ได้แก่ อะไร
นิวรณ์ 5 หมายถึง สิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ มี 5 อย่างคือ
1.กามฉันทะ
2. พยาบาท
3. ถีนมิทธะ
4. อุทธัจจกุกกุจจะ
5. วิจิกิจฉา
อุปทาน 4 ได้แก่ อะไร
1. กามานุปาทาน2. อัตตวานุปาทาน
3. ทิฏฐิปาทาน
4. สีลัพพัตตะปาทาน
นิยาม 5 ได้แก่อะไร
  1. อุตุนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติแวดล้อม เช่น เรื่องลมฟ้าอากาศ ฤดูกาล ฝนตกฟ้าร้อง การที่สิ่งทั้งหลายผุพังเน่าเปื่อย มุ่งเอาความผันแปรที่เนื่องด้วยความร้อนหรืออุณหภูมิ
  2. พีชนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่าพันธุกรรม เช่น หลักความจริงที่ว่าปลูกพืชเช่นใดก็ให้ผลเช่นนั้น ปลูกข้าวย่อมได้ข้าว เป็นต้น
  3. จิตตนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต กระบวนการของความคิด พระพุทธศาสนาเชื่อว่าคนเรา (รวมทั่งสิ่งมีชีวิตอื่น) ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของชีวิต คือ จิต ภาวะทางจิตของคนไม่เหมือนกัน ผลักดันให้พฤติกรรมที่แตกต่างกัน
  4. กรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ หรือกฎแห่งกรรม ซึ่งเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยความจงใจ (เจตนา) แบ่งออกเป็นสองอย่างคือ กรรมดีกับกรรมชั่ว กรรมดีย่อมสนองตอบในทางดี กรรมชั่วย่อมสนองตอบในทางชั่ว
  5.  ธรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์หรืออาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันของสิ่งทั้งหลาย หรือกฎทั่วไปแห่งเหตุและผล เช่น สิ่งทั้งหลายมีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เป็นธรรมดา คนย่อมมีความเกิด แก่ เจ็บตาย เป็นธรรมดา ธรรมนิยามเป็นคำสรุปรวมเอานิยามทุกข้อทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน และนิยามสี่ข้อข้างต้นก็รวมอยู่ในธรรมนิยามนี้เช่นกัน
นิโรธ หรือ ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ประกอบด้วยหลักธรรมอะไรบ้าง
ภาวนา หมายถึง การเจริญ, การทำให้เป็นให้มีขึ้น, การฝึกอบรม หรือ การพัฒนา ประกอบด้วย
  •  กายภาวนา แปลว่า พัฒนากาย
  •  ศีลภาวนา แปลว่า พัฒนาศีล
  • จิตภาวนา  แปลว่า พัฒนาจิต
  • ปัญญาภาวนา แปลว่า พัฒนาปัญญา
นิพพาน หมายถึง
สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่จิตมีความสงบสูงสุด เพราะไร้ทุกข์ ไร้สุข เป็นอิสรภาพสมบูรณ์
2 ประเภท คือ
  1. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุยังมีอุปาทิเหลือ ยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ กล่าวคือดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ
  2. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุที่ไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ กล่าวคือดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่อีก
ภาวนา 4 ได้แก่อะไร
  1. กายภาวนา
  2. สีลภาวนา
  3. จิตภาวนา
  4. ปัญญาภาวนา
วิมุตติ 5 ได้แก่อะไรวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้น ความเป็นอิสระ
  1. ตทังควิมุตติ คือ ความหลุดพ้นชั่วคราว หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสได้ชั่วคราว
  2. วิกขัมภนวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยการสะกดไว้ หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสได้ด้วยกำลังฌาน
  3. สมุจเฉทวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นเด็ดขาด หมายถึง ความพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจอริยมรรค (มรรคมีองค์ 8) ละกิเลสได้อย่างเด็ดขาด ไม่เกิดกิเลสอีกต่อไป
  4. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยความสงบ หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลส เนื่องมาจากอริยมรรคอริยผลไม่ต้องขวนขวายเพื่อละกิเลสอีก
  5. นิสสรณวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยสลัดออกไป หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสนั้นได้อย่างยั่นยืนตลอดไป ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่ นิพพาน
  6. นิสสรณวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยสลัดออกไป หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสนั้นได้อย่างยั่นยืนตลอดไป ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่ นิพพาน
มรรค คือ ธรรมที่ควรทำให้เจริญ ประกอบด้วยหลักธรรมอะไรบ้าง
  • อปริหานิยธรรม 7
  1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
  2. พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุม และทำกิจกรรมร่วมกัน
  3. ไม่บัญญัติ หรือล้มเลิกข้อบัญญัติต่าง ๆ เป็นการไม่เพิกถอน ไม่เพิ่มเติม ไม่ละเมิดหรือวางข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อันมิได้ตกลงบัญญัติไว้
  4. ให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่
  5. ไม่ข่มเหงสตรี
  6.  เคารพบูชาสักการะเจดีย์
  7. ให้การอารักขาพระภิกษุสงฆ์หรือผู้ทรงศีล
  • ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4
ทิฏฐธัมมิกัตถะ เป็นข้อปฏิบัติสำคัญที่ทำให้เกิดผล คือ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ บางทีเรียกว่า “หัวใจเศรษฐี” โดยมีคำย่อคือ “อุ” “อา” “กะ” “สะ” ดังนี้คือ
  1. อุฏฐานะสัมปทา (อุ) หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร
  2. อารักขสัมปทา (อา) หมายถึง การถึงพร้อมด้วยการรักษา
  3. กัลยาณมิตตตา (กะ) หมายถึง การรู้จักคบคนดีหรือมีกัลยาณมิตร
  4. สมชีวิตา (สะ) หมายถึง ความเป็นอยู่พอดี หรือความเป็นอยู่สมดุล
โภคอาทิยะ 5 ประกอบด้วยหลักธรรมที่สอนเกี่ยวกับการใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาได้หรือแนวทางในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ (ทรัพย์สินสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค) มี 5 ประการ ดังนี้
1. ใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงดูตนเอง บิดามารดา และครอบครัว ให้อยู่ดีมีสุข
2. ใช้จ่ายเพื่อบำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมงานเป็นครั้งคราว
3. ใช้จ่ายเพื่อป้องกันภัยอันตราย หรือเก็บออมไว้ยามเจ็บไข้ได้ป่วย
4. ใช้จ่ายเพื่อทำพลี 5 อย่าง คือ สงเคราะห์ญาติ,ต้อนรับแขก,บำรุงราชการ (เสียภาษี), บำรุงเทวดา (สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามประเพณีของสังคม) และ ทำนุบำรุงให้บุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว
5. ใช้จ่ายเพื่ออุปถัมภ์บำรุงนักบวช พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล และกิจการพระศาสนา
ทศพิธราชธรรม ประกอบด้วย
  1. ทาน (ทานํ) คือ การให้
  2. ศีล (สีลํ) คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ
  3. บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขสวนตนเพื่อความสุขส่วนรวม
  4. ความซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือ ความซื่อตรง
  5. ความอ่อนโยน (มทฺทวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน
  6. ความเพียร (ตปํ) คือ ความเพียร
  7. ความไม่โกรธ (อกฺโกธํ) คือ ความไม่แสดงความโกรธ
  8. ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ การไม่เบียดเบียน
  9. ความอดทน (ขนฺติ) คือ การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง
  10. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก
สารณียธรรม 6
สาราณียธรรม หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง หมายถึง มีความปรารถนาดีต่อกัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ดังนี้
  1. เมตตากายกรรม
  2. เมตตาวจีกรรม
  3. เมตตามโนธรรม
  4. แบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาด้วยความชอบธรรมแก่เพื่อนมนุษย์
  5. รักษาความประพฤติ(ศีล) เสมอกัน
  6. มีความเห็นร่วมกัน ไม่วิวาทเพราะมีความเห็นผิดกัน
ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประกอบด้วย 
ปัญญาวุฒิธรรม หมายถึง ธรรมเป็นเครื่องเจริญ หรือคุณธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงามแห่งปัญญา เป็นธรรมที่ผู้ประพฤติปฏิบัติแล้วมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ประกอบด้วย
1. สัปปุริสสังเสวะ หมายถึง การคบหาสัตบุรุษ
2. สัทธัมมัสสวนะ หมายถึง ฟังสัทธรรม การเอาใจใส่ศึกษาเล่าเรียน
3. โยนิโสมนสิการ หมายถึง การคิดอย่างถูกวิธี การคิดอย่างแยบคาย
4. ธัมมานุธัมมปฏิบัติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หรือการปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องตามหลัก
พละ 5 ได้แก่อะไรบ้าง  
พละ หมายถึง ธรรมอันเป็นกำลัง เป็นธรรมที่มีกำลังในการปกป้องคุ้มครองจิตใจไม่ให้อกุศลเข้ามาครอบงำประกอบด้วย
1. สัทธาพละ หมายถึง พลังคือความเชื่อ เช่นเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ก็เป็นพลังให้เราทำความดี เป็นต้น
2. วิริยพละ  หมายถึง พลังคือความเพียร การเพียรระวังไม่ให้ความชั่วหรือบาปอกุศลเกิดขึ้นในใจ เพียรลด ละ เลิกต่อความชั่วทั้งหลาย เพียรทำความดีและเพียรรักษาความดีให้คงอยู่และเพิ่มพูดงอกงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป
3. สติพละ  หมายถึง พลังคือความระลึกได้ การมีสติคือการระลึกได้ก่อนคิด ก่อนพูด ก่อนทำอะไรก็ตาม เป็นคุณธรรมที่ทำให้เกิดความรอบคอบ ไม่หลงลืม ไม่หลงไหล ไม่ลืมตัว
4. ปัญญาพละ หมายถึง พลังคือปัญญา คำว่าปัญญาคือ ความรอบรู้ ความรู้แจ้ง ความรู้จริง คือรู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ
พลธรรม 5 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ 5 หมายถึง ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจการของตน ที่เรียกว่าอินทรีย์ เพราะ เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่าง ๆ ของตน คือเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไม่เชื่อ ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลง ความโง่เขลา ตามลำดับ ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลังทำให้เกิดความมั่นคงซึ่งความเชื่อ ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซาน และความหลงในที่สุด ดังนั้นการดำเนินตามหลักพลธรรม 5 จึงเป็นหนทางแห่งความพ้นทุกข์อีกแนวทางหนึ่ง
วิปัสสนาญาณ 9 ได้แก่อะไรบ้าง
วิปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณในวิปัสสนา หรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา คือ เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้งเข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง แบ่งออกเป็น 9 ประการคือ
  1. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ
  2. ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันตามเห็นความสลาย
  3. ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
  4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันคำนึงเห็นโทษ
  5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันคำนึงเห็นความหน่าย
  6. มุญจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย
  7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทางหลุดพ้น
  8. สังขารุเปกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
  9. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ
อธิปไตย 3 คืออะไร
  1. อัตตาธิปไตย มักหมายถึงการปกครองโดยยึดถือความเห็นของคนๆ เดียวคนกลุ่มเดียวหรือถือตามเสียงข้างน้อย ในลักษณะเผด็จการ
  2. โลกาธิปไตย หมายถึงหลักการปกครองที่ถือความคิดเห็นของคนหมู่มากหรือคนส่วนใหญ่ โดยถือหลักการที่เน้นสิทธิของปัจเจกชน
  3. ธรรมาธิปไตย หมายถึงหลักการปกครองที่ถือความคิดเห็นที่มีเหตุผลที่ถูกต้องอัน ไม่ขัดต่อความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่สามารถรับรู้ได้ทั่วไปโดยถือหลักการที่เน้นสิทธิสังคม
พระสัทธรรม 3 หมายถึงอะไรพระสัทธรรม หมายถึง ธรรมอันดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของสัตบุรุษ หรือหลักศาสนา ประกอบด้วย
  • ปริยัตติสัทธรรม หมายถึง สัทธรรมคือคำสั่งสอนอันจะต้องเล่าเรียน ได้แก่พุทธพจน์
  • ปฏิปัตติสัทธรรม หมายถึง สัทธรรมคือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ มรรคมีองค์ 8 หรือไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
  • ปฏิเวธสัทธรรม หมายถึง สัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน
ปาปณิกธรรม 3 หมายถึงอะไร  ปาปณิกธรรม คือ หลักของการเป็นพ่อค้า หรือคุณสมบัติของพ่อค้า หมายถึง การเป็นพ่อค้าที่ดีจะต้องมีหลักในการค้าหรือมีคุณสมบัติด้านการค้าดังต่อไปนี้
1. จักขุมา คือ ตาดี หมายถึง การรู้จักสินค้า ดูสินค้าเป็น สามารถคำนวณราคา กะทุนเก็งกำไรได้อย่างแม่นยำ เป็นต้น
2. วิธูโร คือ จัดเจนธุรกิจ หมายถึง รู้แหล่งซื้อแหล่งขาย รู้ความเคลื่อนไหวหรือความต้องการของตลาด มีความสามารถในการจัดซื้อจัดจำหน่าย รู้ใจและรู้จักเอาใจลูกค้า บริการตรงกับความต้องการของลูกค้า เป็นต้น
3. นิสสยสัมปันโน คือ มีพร้อมด้วยแหล่งทุนเป็นที่อาศัย หมายถึง ทำตัวเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจใสหมู่แหล่งทุนใหญ่ (เครดิตดี) มีความสามารถหาเงินมาลงทุนหรือดำเนินกิจการได้โดยง่าย
อริยวัฑติ 5 หมายถึงอะไร  อริยวัฑฒิ คือ ความเจริญอย่างประเสริฐ คือหลักความเจริญของอารยชน หรือคนที่เจริญแล้ว ประกอบด้วย
1. ศรัทธา คือความเชื่อ ความเชื่อที่ถูกต้อง ความเชื่อที่เป็นจริง ความเชื่อมั่นในหลักพระพุทธศาสนา ความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยความไม่งบงายในสิ่งเหนือธรรมชาติ เป็นต้น
2. ศีล คือความประพฤติดีปฏิบัติชอบด้วยกายวาจา ความมีระเบียบวินัย การทำมาหาเลี้ยงชีพอย่างสุจริต เป็นต้น
3.สุตะ คือการเล่าเรียนสดับตรับฟังการศึกษาหาความรู้อยู่เสมอความรู้ความเข้าใจในหลักพระพุทธศาสนาพอแก่การปฏิบัติและสามารถแนะนำผู้อื่นได้
4. จาคะ คือ การเผื่อแผ่ การแบ่งปัน ความเอื้อเฟื้อ ความมีน้ำใจช่วยเหลือ ความเป็นคนใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว จิตใจไม่คับแคบ เป็นต้น
5. ปัญญา คือ ความรอบรู้ การรู้จักคิด รู้จักการพิจารณา เข้าใจเหตุผล รู้จักการดำรงชีวิตอยู่ในโลกอย่างมีความสุข รู้และเข้าใจชีวิตตามความเป็นจริง ทำจิตใจให้เป็นอิสระได้
อุบาสถธรรม 5 หมายถึงอะไร  อุบาสกธรรม หมายถึง ธรรมของอุบาสกที่ดี สมบัติหรือองค์คุณของอุบาสกอย่างเยี่ยม คือการเป็นอุบาสกจะต้องปฏิบัติธรรม 5 ประการจัดว่าเป็นอุบาสกที่ดี ประกอบด้วย
1. มีศรัทธา มีความเชื่อตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา มีความเชื่อต่อพระรัตนตรัย และประพฤติปฏิบัติตน
ตามความเชื่อเหล่านั้น
2. มีศีล คือการปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีตามหลักพระพุทธศาสนา เช่นการปฏิบัติตามหลักศีล 5 เป็นต้น
3. ไม่ถือมงคล ตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล คือมุ่งหวังผลจากการกระทำและการงานที่ทำ มิใช่หวังผลจากโชคลางและตื่นต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของขลังทั้งหลาย
4. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอก หลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา
5. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คืออะไรทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ เป็นหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน 4 อย่าง บ้างเรียกว่า หัวใจเศรษฐี “อุ อา กะ สะ” อาจเรียกสั้น ๆ ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ
อปริหานิยธรรม 7 คืออะไร  อปริหานิยธรรมนี้เป็นหลักธรรมสำหรับใช้ในการปกครอง เพื่อป้องกันมิให้การบริหารหมู่คณะเสื่อมถอย แต่กลับเสริมให้เจริญเพียงส่วนเดียว สามารถนำไปใช้ได้ทั้งหมู่ชนและผู้บริหารบ้านเมืองและพระภิกษุสงฆ์ ดังนี้คือ อปริหานิยธรรมสำหรับหมู่ชนและการบริหารบ้านเมือง เป็นหลักในการปกครอง โดยปฏิบัติตามหลักการร่วมรับผิดชอบที่จะช่วยป้องกันความเสื่อม นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยส่วนเดียว มี 7 ประการคือ
1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ เป็นการประชุมพบปะปรึกษาหารือกิจการงานต่าง ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกันโดยสม่ำเสมอ
2. พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุม และทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นการประชุมและการทำกิจกรรมทั้งหลายที่พึงกระทำร่วมกัน หรือพร้อมเพรียงกันลุกขึ้นป้องกันบ้านเมือง
3. ไม่บัญญัติ หรือล้มเลิกข้อบัญญัติต่าง ๆ เป็นการไม่เพิกถอน ไม่เพิ่มเติม ไม่ละเมิดหรือวางข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อันมิได้ตกลงบัญญัติไว้ และไม่เหยียบย่ำล้มล้างสิ่งที่ตกลงวางบัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นอยู่ในบทบัญญัติใหญ่ที่วางไว้เป็นธรรมนูญ
4. ให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ยาวนาน ดังนั้นเราต้องให้เกียรติ ให้ความเคารพนับถือ และรับฟังความคิดเห็นของท่านในฐานะที่เป็นผู้รู้และมีประสบการณ์มามาก
5. ไม่ข่มเหงสตรี เป็นการให้เกียรติและคุ้มครองสตรี มิให้มีการกดขี่ข่มเหงรังแก
6. เคารพบูชาสักการะเจดีย์ คือการให้ความเคารพศาสนสถาน ปูชนียสถาน อนุสาวรีย์ประจำชาติ อันเป็นเครื่องเตือนความจำ ปลุกเร้าให้เราทำความดี และเป็นที่รวมใจของหมู่ชน ไม่ละเลย พิธีเคารพบูชาอันพึงทำต่ออนุสรณ์สถานที่สำคัญเหล่านั้นตามประเพณีที่ดีงาม
7. ให้การอารักขาพระภิกษุสงฆ์หรือผู้ทรงศีล เป็นการจัดการให้ความอารักขา บำรุง คุ้มครอง อันชอบธรรม แก่บรรพชิต ผู้ทรงศีลทรงธรรมบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นหลักใจและเป็นตัวอย่างทางศีลธรรมของประชาชน เต็มใจต้อนรับและหวังให้ท่านอยู่โดยผาสุก
มงคล 38 ได้แก่อะไรบ้าง    มงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ มาจากพระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี “มงคลชีวิต” ซึ่งมี 38ประการได้แก่
  1. การไม่คบคนพาล
  2. การคบบัญฑิต
  3. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
  4. การอยู่ในถิ่นอันสมควร
  5. เคยทำบุญมาก่อน
  6. การตั้งตนชอบ
  7. ความเป็นพหูสูต
  8. การรอบรู้ในศิลปะ
  9. มีวินัยที่ดี
  10. กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
  11. การบำรุงบิดามารดา
  12. การสงเคราะห์บุตร
  13. การสงเคราะห์ภรรยา
  14. ทำงานไม่ให้คั่งค้าง
  15. การให้ทาน
  16. การประพฤติธรรม
  17. การสงเคราะห์ญาติ
  18. ทำงานที่ไม่มีโทษ
  19. ละเว้นจากบาป
  20. สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
  21. ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
  22. มีความเคารพ
  23. มีความถ่อมตน
  24. มีความสันโดษ
  25. มีความกตัญญู
  26. การฟังธรรมตามกาล
  27. มีความอดทน
  28. เป็นผู้ว่าง่าย
  29. การได้เห็นสมณะ
  30. การสนทนาธรรมตามกาล
  31. การบำเพ็ญตบะ
  32. การประพฤติพรหมจรรย์
  33. การเห็นอริยสัจ
  34. การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
  35. มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
  36. มีจิตไม่เศร้าโศก
  37. มีจิตปราศจากกิเลส
  38. มีจิตเกษม
หลักปฏิบัติเพื่อให้บรรลุนิพพาน ได้แก่  
  1. การปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา เป็นการป้องกันความประมาท
  2. การปฏิบัติวิปัสสนาญาณ การรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริง